- Admin
- 27/Oct/2021 07:00 pm
- Bones & JOINT
- 0 View
เคยไหม ! ปวดเมื่อยระหว่างวัน นี่อาจะเป็นอาการที่บ่งบอกถึงปัญหา กระดูก และ ข้อเข่า !
โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่โรคที่ไกลตัวอย่างที่ใครหลายๆคนคิดเพราะในแต่ละวันเราทุกคนล้วนใช้ งานข้อเข่าในหลาย ๆ อิริยาบถ โดยอุบัติการณ์โรคข้อเสื่อมจะเริ่มพบในประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปี และในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 50 เป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ตำแหน่งของข้อที่มักพบการเสื่อม ได้แก่ ข้อเข่า สะโพก ข้อมือ กระดูกสันหลัง และข้อเท้า แต่ข้อที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการเจ็บป่วยและต้องการเข้ารับบริการทางการแพทย์มากที่สุดคือ ข้อเข่า
โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ และจากการสร้างคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ลดลงรวมไปถึงการที่น้ำหล่อเลี้ยงข้อมีปริมาณลดลงหรือมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการอักเสบในข้อมีอาการปวด บวม บางคนอาจถึงขั้นเดินไม่สะดวก ต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง ในขณะที่บางคนปล่อยอาการทิ้งไว้เรื้อรังจนกล้ามเนื้ออ่อนแรงลีบเล็กลง อาจถึงขั้นเดินไม่ได้และต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
ทั่วไปแล้วเราคงเชื่อกันว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้นเกิด ได้ในเฉพาะ ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วดูใกล้ตัวกว่าที่คิด สามารถเกิดได้จากพฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ โดยปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้
- เพศและอายุ เพศหญิงมีความเสี่ยงในการเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชายประมาณ 2-3 เท่า พบว่าเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจาเดือนโครงสร้างของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อจะบางลงจาก ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงเป็นผลโดยตรงให้เส้นเอ็นต่าง ๆ โดยเฉพาะรอบข้อหย่อนยาน ข้อหลวมไม่มั่นคงส่งผลต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย และพบในผู้สูงอายุมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว
- น้ำหนักตัวมากเกินไป พบว่าคนที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรือภาวะอ้วน คือปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่มีผลต่อข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากข้อเข่าทำหน้าที่ในการแบกรับน้ำหนักตัวโดยตรง ส่งผลให้แรงกดทับทั้งหมดลงมาที่ข้อเข่า โดยพบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม
- ไลฟ์สไตล์ พบว่าการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ รวมทั้งท่าทางการนั่ง การยืน การงอเข่า จะส่งผลให้เกิดการปวดเข่าและข้อเข่าเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ในการทำศาสนกิจต่าง ๆ ต้องนั่งพับเพียบนาน ๆ รวมทั้งหากไม่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็ว มากขึ้นเช่นกัน
- การได้รับบาดเจ็บโดยตรงที่บริเวณข้อเข่ามาก่อน ส่งผลให้มีการเสื่อมของข้อเข่าตามมาได้
โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นส่งผลให้มีการอักเสบเรื้อรังในข้อเข่าซึ่งจะไปกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกปวด ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่า เข่าฝืด เคลื่อนไหวลำบากและโครงสร้างของข้อเข่ามีความผิดปกติมากขึ้น นอกจากเจ็บปวดทางร่างกายแล้วยังส่งผลกับจิตใจ ส่งผลให้วิตกกังวลกับการขยับ เคลื่อนไหว ข้อเข่า ทำให้นอนไม่หลับหงุดหงิดกับอาการปวดที่เพิ่มขึ้นและอาจเกิดความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่าไม่อยากพบปะผู้คนปัจจุบันโรคข้อเข่าเสื่อมยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เพียงแต่สามารถควบคุมประคองอาการเท่านั้นการรักษาในปัจจุบันเป็นการบรรเทาการเจ็บปวดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุด หากข้อเข่าเสื่อมสภาพมาก ๆ ก็อาจต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อในที่สุด
จากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมไปถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เราควรจะป้องกันไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยจุดร่วมกันของปัจจัยทั้งหมดคือการที่เอ็นและข้อนั้นขาดความแข็งแรง ดังนั้นการเสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นและข้อจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยจากผลการศึกษาพบว่าคอลลาเจนนั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเนื้อเยื่อบริเวณเส้นเอ็นและข้อ ทำให้การเสื่อมสภาพของเส้นเอ็นและข้อนั้นสัมพันธ์กับคอลลาเจนโดยตรง ในทางกลับกัน ถ้าเราต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับเส้นเอ็นและข้อนั้น การกินอาหารเสริมกลุ่มคอลลาเจนก็เป็นอีก 1 ตัวเลือกที่มีงานวิจัยออกมารองรับ เนื่องจากคอลลาเจนจะถูกดูดซึมและนำไปสร้างเป็นคอลลาเจนชนิดต่าง ๆ เช่นคอลลาเจนชนิดที่ 1 ก็จะไปช่วยเหลือในส่วนของเส้นเอ็นยึดกระดูก รวมไปถึงคอลลาเจนชนิดที่ 2 ก็จะไปช่วยเหลือในส่วนของกระดูกอ่อนผิวข้อ นอกจากนี้แล้วคอลลาเจนนั้นยังมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblasts) อีกด้วย ทำให้การกินคอลลาเจนนั้นส่งผลต่อการสร้างความแข็งแรงของเส้นเอ็นและข้อ รวมไปถึงช่วยฟื้นฟูอาการข้อเข่าเสื่อมได้อีกด้วย ทำให้ปัญหาข้อเข่าที่คุณพบเจอนั้นดีขึ้น
- Centers for Disease Contorl and Prevention, Factors that Increase Risk of Getting Arthritis. Centers for Disease Contorl and Prevention. Aug 2021. From https://www.cdc.gov/arthritis/basics/risk-factors.htm
- MAYOCLINIC, Arthritis. MAYOCLINIC. Aug 2021. From https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/arthritis/symptoms-causes/syc-20350772
- MAYOCLINIC, Osteoarthritis. MAYOCLINIC. Aug 2021. From https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osteoarthritis/symptoms-causes/syc-20351925