img

อันตราย ! หากปวดเข่ามาหลายเดือนติดกัน แล้วไม่รักษา เสี่ยงข้อเข่าเสื่อมระยะยาว

img
  • Admin
  • 27/Oct/2021 07:00 pm
  • Bones & JOINT
  • 0 View
อันตราย ! หากปวดเข่ามาหลายเดือนติดกัน แล้วไม่รักษา เสี่ยงข้อเข่าเสื่อมระยะยาว


             หยุดเพิกเฉย ! ต่ออาการปวดเข่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่หลายๆคนล้วนทำกันอยู่ในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องปกติโดยหารู้ไม่ว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม โดยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นเกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า(articular cartilage)มีการเสื่อมสภาพสึกกร่อน และมีการลดลงของน้ำไขข้อ(synovial fluid) รวมไปถึงมีการหนาตัวขึ้นของขอบกระดูกใต้ผิวข้อ(subchondral bone)


             การที่ร่างกายสังเคราะห์คอลลาเจนได้ลดลง และมีการเสื่อมสภาพของคอลลาเจนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการเสื่อมสภาพข้อเข่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งการเสื่อมสภาพของข้อเข่าจะทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด การเคลื่อนไหวลำบาก ข้อผิดรูป อาจถึงขั้นเดินไม่ได้และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในที่สุด

กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดข้อเข้าเสื่อมในระยะยาว 3 กลุ่ม

  • กลุ่มผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเข่าเสื่อม
  • กลุ่มอายุตั้งแต่ 45 ขึ้นไป

กลุ่มช่วงอายุนี้ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดข้อเข่าเสื่อมมากที่สุด และยังสามารถเกิดขึ้นได้กับช่วงอายุที่ต่ำกว่า 30 ปีได้ หากคุณมีพฤติกรรรมเสี่ยง

  • กลุ่มผู้หญิงโดยฉพาะหญิงวัยหมดประจำเดือน

กลุ่มผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย โดยอาจสืบเนื่องมาจาก

1.ในเรื่องของฮอร์โมนผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลง หรือลดลงในช่วงวัยหมดประจำเดือน 
2. 
สริระร่างกาย เนื่องจากผู้หญิงจะมีสะโพกที่ใหญ่กว่าผู้ชายทำให้เกิดการทิ้งน้ำหนักไปที่หัวเข่ามากกว่าและอาจมีการเพิ่มของน้ำหนักตัวในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้เข่ารับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลานั้น


กลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของข้อเข่า หรือเพิ่มแรงกดภายในข้อเข่า

  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการนั่งที่ผิดรูปแบบ เช่นการ นั่งไขว่ห้าง นั่งพับเพียบ หรือ นั่งยองๆ การที่หัวเข่าถูกบิดให้ผิดรูปหรือโดนทิ้งน้ำหนักไปที่ข้างใดข้างหนุ่งมากกว่าจะส่งผลทบต่อกระดูกข้อเข่าตรง

  • ผู้ผู้ที่มีพฤติกรรมการยืนโดยที่ทิ้งน้ำหนักไปที่ปลายเท้าบ่อยๆ เช่น ผู้หญิงที่ชอบใส่ส้นสูงอยู่บ่อยๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อข้อเข่าได้ในระยะยาว
  • นักกีฬา หรือผู้ที่เล่นกีฬาบางอย่างเป็นประจำอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บสะสมต่อข้อเข่า โดยเฉพาะกีฬาที่มีการใช้การทำงานของข้อเข่าอย่างหนักหน่วง เช่น กระโดดวิ่ง หรือ เตะ ซึ่งกีฬาอย่าง ฟุตบอล และ บาสเก็ตบอล อาจถือได้ว่าเป็นอันดับต้นๆ ของกีฬาที่เสี่ยงต่อปัญหาการบาดเจ็บของข้อเข่า โดยเฉพาะถ้ามีการใช้งานที่หักโหมจนเกินไป(overuse)หรือเล่นผิดวิธี ผิดท่า ยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่ามากยิ่งขึ้น



  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป น้ำหนักตัวที่มาก จะเพิ่มแรงกดและเสียดสีลงบนผิวข้อเข่า ทำให้มีการสึกกร่อนเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมตามมาในที่สุด
  • มีมีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุทางร่างกาย หรือมีการบาดเจ็บของข้อเข่ามาก่อน หากคุณเคยได้รับอุบัติเหตุทางร่างกายมาก่อนโดย เฉพาะช่วงล่างของร่างกายก็อาจทำให้สรีระร่างกายนั้นผิดลักษณะ และส่งผลกระทบต่อการเดิน นั่ง หรือ ยืน ทำให้ไม่สามารถทิ้งน้ำหนักได้สมดุลเท่ากันอย่างเป็นปกติ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของข้อเข่าเสื่อมได้ รวมไปถึงการมีการบาดเจ็บของข้อเข่ามาก่อนก็อาจนำไปสู่การเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในที่สุด


ข้อมูลแหล่งอ้างอิง


  • Roland W. Moskowitz. 2000. Role of Collagen Hydrolysate in Bone and Joint Disease. seminars in arthritis and rheumatism 30: 87-99. DOI: 10.1053/sarh.2000.9622
  • Hunter Hsu and Ryan M. Siwiec. 2021. Knee Osteoarthritis [Internet]. accessible from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK507884/
  • Andreas Lahm, Eike Mrosek, Heiko Spank, Christoph Erggelet, Richard Kasch, Jan Esser, and Harry Merk. 2009. Changes in content and synthesis of collagen types and proteoglycans in osteoarthritis of the knee joint and comparison of quantitative analysis with Photoshop-based image analysis. springer 130:557-564. DOI: 10.1007/s00402-009-0981-y


Tags:
เคยไหม ! ปวดเมื่อยระหว่างวัน นี่อาจะเป็นอาการที่บ่งบอกถึงปัญหา กระดูก และ ข้อเข่า !
เจาะลึกการเดินทางของแคลเซียม ดูดซึมที่ไหน? ยังไง? ไขปัญหากินแคลเซียมทุกวันแต่ทำไมกระดูกยังพรุนเหมือนเดิม!