img

เมื่อ Fish oil เสริมทัพกับ L-Theanine ให้สุขภาพสมองดีเริ่มต้นจากการนอนที่มีประสิทธิภาพ

img
  • Admin
  • 22/Jun/2022 07:00 pm
  • Bones & JOINT
  • 0 View
การนอนหลับ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ร่างกายของเราควรได้รับวันละ 7-8 ชั่วโมง เนื่องจากขณะที่เราอยู่ในช่วงเวลาแห่งการนอนหลับนั้นร่างกายของเราจะได้รับการพักผ่อนจากความเหนื่อยล้าที่เผชิญหน้ามาทั้งวัน และเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูให้การทำงานในทุก ๆ ระบบนั้นกลับมาเป็นปกติ โดยส่วนที่ควบคุมการนอนหลับของเรานั้นก็คือ “ก้านสมอง” ส่วนที่เรียกว่า reticular activating system ในการรับกระแสประสาทจากอวัยวะต่าง ๆ ร่วมกับสมองส่วนกลาง พอนส์ เมดัลลาออบลองกาตา และไฮโพทาลามัส ผ่านการผลิตคลื่นสมองซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
  • คลื่นเบตา ที่จะถูกผลิตเมื่อร่างกายใช้ความคิด ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องมีการรับส่งข้อมูลกับสมอง 

  • คลื่นอัลฟา ถูกผลิตเมื่อร่างกายรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ส่งเสริมให้มีสมาธิ เพิ่มการเรียนรู้และจดจำ

  • คลื่นธีตา เป็นคลื่นที่เข้าถึงและเรียกความทรงจำระยะยาวได้ดี สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก

  • คลื่นเดลตา เป็นคลื่นขณะที่เรานอนหลับลึก โดยไม่มีความฝัน สมองทำงานตามความจำเป็น ร่างกายพักผ่อนเต็มที่

ผ่านวงจรการหลับทั้งหมด 4 ขั้นตอนคือ

  1. NREM1 หรือช่วงเริ่มต้นของการหลับ สมองจะเริ่มผลิตคลื่นอัลฟาและธีตาที่เป็นการเริ่มกล่อมให้เราเริ่มหลับ

  2. NREM2 หรือช่วงการนอนหลับอ่อน ๆ ที่หัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง อุณหภูมิร่างกายลดลง

  3. NREM3 หรือช่วงการหลับลึก ที่สมองจะลดการผลิตคลื่นเบตาลง เพิ่มการผลิตคลื่นเดลตา ไม่มีการขยับของตาและกล้ามเนื้อ เป็นช่วงการนอนหลับที่มีความสำคัญมากเนื่องจาก “เป็นช่วงที่ร่างกายได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งเนื้อเยื่อ กระดูก กล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน และสมอง” 

  4. REM หรือช่วงการหลับฝัน ที่สมองมีการตื่นตัวขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้น ดวงตามีการเคลื่อนไหว ในช่วงนี้อาจมีส่วนช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ได้


โดยการนอนหลับอย่างมีคุณภาพนั้นไม่ใช่เพียงแค่การนอนให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวันแต่ต้องนอนให้ครบวงจรการนอนหลับทั้ง 4 ขั้นตอนด้วย ส่งผลให้การนอนหลับไม่สนิท หรือการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นั้นอาจแฝงภัยร้ายมาให้กับตัวคุณได้ โดยเฉพาะบางคนที่หลับในขั้นตอนที่ 1 ไป 2 แล้วข้ามไป 4 เลย ร่างกายจะไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้ตื่นมาแล้วไม่สดใส เหนื่อยเพลีย ระหว่างวัน เป็นผลให้เราควรที่จะดูแลและบำรุงสมองอยู่เสมอ เพราะเราจะเห็นว่าสมองมีส่วนสำคัญต่อการนอนหลับของเราเป็นอย่างมาก “ถ้าสุขภาพสมองดี สุขภาพการนอนของเราก็จะต้องดีตามมาอย่างแน่นอน” ดังนั้นเราจึงควรได้รับสารอาหารที่ปลอบประโลมสมองของเราอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น

  • Fish oil ที่สกัดเย็นจากหัวทูน่าทะเลลึกซึ่งอุดมไปด้วย DHA และ EPA โดยเป็นองค์ประกอบของโอเมกา-3 ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง โดย DHA จะส่งผลให้การทำงานของระบบประสาทและสมองมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยพัฒนากระบวนการความคิดและสมาธิ ทำให้ทักษะด้านการสื่อสารและการจดจำเป็นไปในทางที่ดี ส่วน EPA จะมีบทบาทในการต้านการอักเสบ การลดไขมันเลว (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL) ที่จะไปช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ ไขมันอุดตันในหลอดเลือด โดยที่ DHA และ EPA จากหัวทูน่าสกัดเย็นจะมีความสำคัญมากในช่วงการนอนขั้นตอนของ NREM3 ที่ร่างกายและสมองกำลังได้รับการฟื้นฟูโดยธรรมชาติ แล้วถ้ายิ่งได้รับสารอาหารปลอบประโลมเพิ่มเติมเข้าไปอีก ร่างกายและสมองของเราจะได้ฟื้นฟูและบำรุงได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ร่างกายและสมองแข็งแรง

  • L-Theanine จากใบชาเขียวที่ส่งผลให้สมองปลอดโปร่ง จิตใจสงบ ลดความดันโลหิต เพิ่มคลื่นอัลฟาในสมองส่งผลให้การเริ่มหลับในขั้นตอน NREM1 นั้นมีประสิทธิภาพและพร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปจนครบวงจร นอกจากนี้แล้วยังมีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายผลิต GABA และ Melatonin เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติ

  • Chamomile ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีสาร apigenin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยผ่อนคลาย ส่งเสริมการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการนอนไม่หลับ (insomnia) และอาการฝันร้าย

  • Vitamin B12 & Folate ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับผ่านการกระตุ้นการผลิต Melatonin 

  • สารสกัดจาก Bilberry ที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของน้ำมันปลาในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการบำรุงจอประสาทตา และดูแลสายตาให้ทำงานอย่างเป็นปกติ


เราจะเห็นได้ว่านอกจากการนอนหลับแล้ว การบำรุงในช่วงเวลาของการนอนหลับก็มีความสำคัญเหมือนกัน เพราะเราควรที่จะส่งเสริมช่วงที่ร่างกายกำลังฟื้นฟูตัวเองให้สามารถฟื้นฟูได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยการนอนหลับอย่างมีคุณภาพควบคู่กับการบำรุงร่างกายขณะนอนหลับนั้นส่งผลดีต่อร่างกายได้หลากหลายประการ เนื่องจากขณะหลับนั้นร่างกายแทบจะไม่มีการใช้งาน อวัยวะเกือบทุกส่วนได้หยุดพักผ่อน ส่งผลให้เรามีร่างกายที่แข็งแรง ไขมันเลวลดลง ไขมันดีเพิ่มขึ้น ตื่นมาก็จะอารมณ์ดี มีสมาธิและความจำที่เป็นเลิศ แถมยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันได้ ทำให้เราป่วยจากไวรัสหรือแบคทีเรียได้ยากยิ่งขึ้น มีสมอง เซลล์ประสาท และจอประสาทตาที่แข็งแรง ส่งผลให้การเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นเกิดขึ้นได้ยากมากยิ่งขึ้น


ดังนั้นการนอนหลับให้ครบเวลาอย่างมีคุณภาพควบคู่กับการบำรุงสมองจึงเป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจ ถ้าหากมีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นมาแล้วไม่สดใส ก็ควรรีบที่จะหาทางแก้ไขก่อนที่อาการเล็ก ๆ เหล่านั้นจะนำพามาซึ่งโรคร้ายที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ และจะง่ายดายยิ่งกว่าถ้าหากสามารถบำรุงสมองควบคู่กับการเสริมประสิทธิภาพการนอนหลับได้ในเม็ดเดียวอย่าง ZEAVITA TUNA HEAD FISH OIL PLUS DEEPZ ที่อุดมไปด้วยน้ำมันสกัดเย็นจากหัวทูน่า มี DHA และ EPA ที่อัดแน่นร่วมกับ Bilberry ช่วยบำรุงสมองและจอประสาทตา เสริมทัพด้วย L-Theanine Chamomile Vitamin B12 และ Folate ช่วยเสริมประสิทธิภาพการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

ข้อมูลอ้างอิง


  1. Thekkuttuparambil Ananthanarayanan Ajith. 2018. A Recent Update on the Effects of Omega-3 Fatty Acids in Alzheimer’s Disease. Current Clinical Pharmacology 13(4):252-260. DOI: 10.2174/1574884713666180807145648

  2. Scheine Canhada, Kamila Castro, Ingrid Schweigert Perry,and Vivian Cristine Luft. 2018. Omega-3 fatty acids' supplementation in Alzheimer's disease: A systematic review. Nutritional Neuroscience 21(8):529-538. DOI: 10.1080/1028415X.2017.1321813

  3. Shinsuke Hidese, Shintaro Ogawa, Miho Ota, Ikki Ishida, Zenta Yasukawa, Makoto Ozeki, and Hiroshi Kunugi. 2019. Effects of L-Theanine Administration on Stress-Related Symptoms and Cognitive Functions in Healthy Adults: A Randomized Controlled Trial. Nutrients 11(10):2362. DOI:10.3390/nu11102362

  4. Janmejai K Srivastava, Eswar Shankar, and Sanjay Gupta. 2010. Chamomile: A herbal medicine of the past with bright future. Mol Med Report 3(6):895-901. DOI:10.3892/mmr.2010.377

  5. Kanari Kobayashi, Yukiko Nagato, Nobuyuki Aoi, Lekh Raj Juneja, Mujo Kim, Takehiko Yamamoto, and Sukeo Sugimoto. 1998. Effects of L-Theanine on the Release of α-Brain Waves in Human Volunteers. Nippon Nōgeikagaku Kaishi 72(2):153-157. DOI: 10.1271/nogeikagaku1924.72.153

  6. Katri Peuhkuri, Nora Sihvola, and Riitta Korpela. 2012. Diet promotes sleep duration and quality. Nutrition Research 32(5):309-19. DOI: 10.1016/j.nutres.2012.03.009.

  7. Eric Suni, and Nilong Vyas. 2022. Stages of Sleep. [Internet]. accessible from: https://www.sleepfoundation.org/stages-of-sleep

  8. Brainworksneurotherapy. 2007. What are brainwaves?. [Internet]. accessible from: https://brainworksneurotherapy.com/what-are-brainwaves

  9. Scientificamerican. 1997. What is the function of the various brainwaves?. [Internet]. accessible from: https://www.scientificamerican.com/article/what-is-the-function-of-t-1997-12-22/

  10. Sabrina Felson. 2020. What Are REM and Non-REM Sleep?. [Internet]. accessible from: https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-101

  11. Clevelandclinic. Sleep Basics. [Internet]. accessible from: https://my.clevelandclinic.org/health/articles/12148-sleep-basics

  12. Sleep Physician at American Sleep Association Reviewers and Writers. Stages of Sleep: The Sleep Cycle. [Internet]. accessible from: https://www.sleepassociation.org/about-sleep/stages-of-sleep/


Tags:
แก้ปัญหาการนอนไม่หลับที่ดีกว่า หลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก ด้วย L-Theanine
บำรุงผิวมาตั้งมากมาย แต่ทำไมไม่ดีขึ้นสักที ?