img

บำรุงผิวมาตั้งมากมาย แต่ทำไมไม่ดีขึ้นสักที ?

img
  • Admin
  • 04/Jan/2023 07:00 pm
  • Skin
  • 0 View

ผิวนั้นเป็นอวัยวะสำคัญซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด เนื่องจากปกคลุมเราไปทั้งร่างกาย โดยหน้าที่หลัก ๆ คือการป้องกันสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกร่างกายไม่ให้สามารถเข้ามาโจมตีเราได้ ถือเป็นป้อมปราการด้านสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันเลยทีเดียว แต่นอกจากหน้าที่ของผิวแล้ว ปัจจุบันคนเรานั้นได้ให้ความสำคัญกับผิวเป็นอย่างมาก เป็นผลให้เรานั้นบำรุงผิวกันอย่างหนักเพื่อสร้างผิวที่สุขภาพดี โกลว์ สวย ใส เนียนนุ่ม เรียบ น่าสัมผัส ไร้ริ้วรอย ไม่ว่าจะผิวหน้าหรือผิวกายก็ตาม ผ่านสกินแคร์ เวชสำอางค์ หัตถการแพทย์ รวมไปถึงอาหารเสริมมากมาย แต่ปัญหาที่หลาย ๆ คนกำลังเผชิญหน้าอยู่คงไม่พ้นการบำรุงหน้าตั้งมากมาย แต่ผิวหน้าก็ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะสุขภาพดีขึ้นเหมือนกับคนอื่น ๆ เลย เพราะจริง ๆ แล้วปัญหาผิวหน้าของคุณอาจไม่ได้มีต้นตอจากผิว แต่มาจาก ”ลำไส้และระบบขับถ่าย”

เนื่องจากสุขภาพของผิวหน้าจะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับความสมดุลของ “Microbiome” หรือ ”กลุ่มประชากรของจุลชีพบนร่างกาย” ของเราที่จะประกอบไปด้วยจุลชีพมากมายหลายชนิด ทั้งชนิดที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์แต่ก็ไม่ได้ให้โทษกับเรา ซึ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการอักเสบในระบบภูมิคุ้มกัน และทำการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพร้ายที่พยายามรุกรานร่างกายของเรา โดยเฉพาะกลุ่มของ “จุลินทรีย์ดี” ที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพผิวหน้าที่ดี เนื่องจากจะเป็นตัวช่วยทำลาย “จุลินทรีย์ร้าย” ทำให้เมื่อมีปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการป้องกันการอักเสบจากวายร้ายของผิวหน้าทั้งหลายได้ ในทางกลับกัน หากใน Microbiome เสียสมดุลและมีปริมาณของจุลินทรีย์ดีมากเกินไปก็จะส่งผลให้จุลินทรีย์ดีเหล่านั้นกลายเป็นวายร้ายของผิวหน้าได้เช่นกัน เนื่องจากปริมาณของจุลินทรีย์ที่มากเกินไปจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของเรา ก่อให้เกิดการอักเสบที่รูขุมขนได้ โดยสาเหตุของการเสียสมดุลของ Microbiome นั้นก็มีได้หลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น

  • การอักเสบเรื้อรัง
  • ความเครียด
  • การที่ผิวมีระดับ pH ที่ไม่เหมาะสม
  • อาหารการกิน

เป็นผลให้ผิวหน้าของเรานั้นเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาผิวมากมายตามมาไม่ว่าจะเป็น สิว โรคผิวหนังอักเสบ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคเซบเดิร์ม โรคผื่นแพ้สัมผัส โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย ผิวที่ดูแห้งกร้านขาดความสดใส ริ้วรอยก่อนวัย รวมไปถึงมะเร็งผิวหนัง ดังนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องใส่ใจดูแล Microbiome และเหล่าจุลินทรีย์ดีในร่างกายของเราเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มของจุลินทรีย์ดีในลำไส้และระบบย่อยอาหาร

เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรานั้นร้อยละ 70-80 อยู่ที่ลำไส้ เป็นผลให้การทำงานที่ไม่เป็นปกติของลำไส้จะนำพามาซึ่งโรคภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ท้องผูก ท้องร่วง ปัญหาฮอร์โมน รวมไปถึงปัญหาผิวอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็น “ปัญหาจากภายในแต่สะท้อนออกมาให้เห็นได้ที่ภายนอก” ทำให้ลำไส้และระบบย่อยอาหารมีความสำคัญต่อการดูแลผิวหน้าเช่นเดียวกัน โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า

  • ลำไส้นั้นมีส่วนสำคัญต่อการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะวิตามิน คอลลาเจน หรือสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากลำไส้ทำงานได้เป็นปกติ การดูดซึมสารอาหารดังกล่าวก็จะเกิดดียิ่งขึ้น เป็นผลให้เมื่อเรารับประทานอาหารเสริมเข้าไป ร่างกายก็จะสามารถได้รับการบำรุงอย่างเต็มที่ ไร้อุปสรรค์ขัดขวาง
  • ลำไส้มีหน้าที่ในการกำจัดสารพิษและของเสียที่ไม่จำเป็นของร่างกาย หากลำไส้ทำงานผิดปกติอาจเกิดกระบวนการ “Re-absorb” หรือการดูดสารพิษกลับคืนสู่ร่างกายแทนที่จะกำจัดออกไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุของปัญหาผิวหน้ามากมายไม่ว่าจะเป็นจุดด่างดำ หรือสิว
  • ลำไส้มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบของร่างกาย แต่ถ้าหาก Microbiome ในลำไส้ขาดความสมดุล อาจเกิดภาวะ “ลำไส้รั่ว” ที่สารพิษ รวมไปถึงสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ สามารถเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดและไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้เกิดการอักเสบภายในร่างกายและส่งอิทธิพลต่อการเกิดสิวซึ่งเป็นต้นต่อของจุดด่างดำและความหม่นหมองของใบหน้าในเวลาต่อมา

เราจะเห็นได้ว่าลำไส้และระบบย่อยอาหารนั้นมีความสำคัญต่อระบบร่างกายโดยรวมและเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง นอกจากนี้แล้วลำไส้นั้นยังมีจุดเชื่อมโยงกับผิวหน้าอีกด้วย ถ้าระบบย่อยอาหารดี ไร้สารพิษ ได้รับการบำรุงให้สามารถซึมซาบสารอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ใบหน้าของเราก็จะดีตามมาได้ด้วย เป็นผลให้เราจึงจำเป็นที่จะต้องใส่ใจ Microbiome ของลำไส้ให้อยู่ในภาวะสมดุลอยู่เสมอ เพราะใบหน้าจะดีได้ ลำไส้ต้องดีก่อนนั้นเอง

หรืออย่างในหลาย ๆ ครั้งที่เราพยายามจะรับประทานคอลลาเจนเพื่อหวังผลให้ใบหน้าของเรานั้นดี เนียนใส นุ่มนวล มีออร่า แต่รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่ได้เห็นถึงความแตกต่าง จากการที่ร่างกายของเรานั้นยังคงมีปัญหาของลำไส้ที่ขัดขวางไว้อยู่ ทำให้ไม่สามารถนำคุณประโยชน์ของคอลลาเจนมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นผลให้ในความเป็นจริงการที่ผิวของเราจะสุขภาพดีได้นั้นต้องมาจากลำไส้ เป็นผลให้เราจึงควรเลือกรับประทานคอลลาเจนที่มีส่วนประกอบสำหรับการบำรุงลำไส้และเสริมให้ Microbiome ของเรานั้นอยู่ในภาวะสมดุลอย่าง “Prebiotic” รวมไปถึงถ้าหากอยากมีผิวที่ขาวใสนั้นแค่คอลลาเจนก็ไม่พอเช่นเดียวกันแต่ควรจะเสริม “กลูต้าไธโอน” เพิ่มเติมเข้าไปด้วย เรียกได้ว่าถ้าหากรับประทานอาหารเสริมคอลลาเจนที่มี Prebiotic และกลูต้าไธโอน เป็นส่วนประกอบ ผิวของเราก็จะขาวใส เนียนนุ่ม อ่อนวัยจากภายในสู่ภายนอกได้นั่นเอง

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Grice EA, et al. (2011). The skin microbiome. Nature Reviews Microbiology 9:244–253. DOI: 10.1038/nrmicro2537
  2. Rusu E, et al. (2019). Prebiotics and probiotics in atopic dermatitis. Experimental and Therapeutic Medicine 18(2):926-931. DOI: 10.3892/etm.2019.7678
  3. Sharma D, et al. (2016). Anti-aging effects of probiotics. Journal of Drugs in Dermatology 15(1):9-12
  4. Al-Ghazzewi FH, et al. (2014). Impact of prebiotics and probiotics on skin health. Beneficial Microbes 5(2):99-107. DOI:10.3920/BM2013.0040
  5. Knackstedt R, et al. (2019). The role of topical probiotics in skin conditions: A systematic review of animal and human studies and implications for future therapies. Experimental Dermatology 29(1):15-21. DOI:10.1111/exd.14032
  6. Muizzuddin N, et al. (2012). Physiological effect of a probiotic on skin. Journal of Cosmetic Science 63(6):385-95
  7. Paetzold B, et al. (2019). Skin microbiome modulation induced by probiotic solutions. Microbiome 7(95):1-9. DOI:10.1186/s40168-019-0709-3
  8. Porubsky CF, et al. (2017). The role of probiotics in acne and rosacea. DOI:10.5772/intechopen.79044
  9. Roudsari MR, et al. (2015). Health effects of probiotics on the skin. Food Science and Nutrition 55(9):1219-1240. DOI:10.1080/10408398.2012.680078
  10. Martin H Floch. (2014). Probiotics and Prebiotics. Gastroenterology and Hepatology 10(10):680-681
  11. Kyung-Ah Kim, et al. (2015). A prebiotic fiber increases the formation and subsequent absorption of compound K following oral administration of ginseng in rats. Journal of Ginseng Research 39(2):183-187. DOI:10.1016/j.jgr.2014.11.002
  12. Seema Patel, et al. (2012). The current trends and future perspectives of prebiotics research: a review. 3 Biotech 2(2):115-125. DOI:10.1007/s13205-012-0044-x
  13. M Rahmati Roudsari, et al. (2015). Health effects of probiotics on the skin. Critical Reviews in Food Science and Nutrition 55(9)1219-40. DOI: 10.1080/10408398.2012.680078
  14. Mary-Margaret Kober, et al. (2015). The effect of probiotics on immune regulation, acne, and photoaging. International Journal of Women's Dermatology 1(2): 85-89. DOI: 10.1016/j.ijwd.2015.02.001
  15. Stewart A, et al. (2017). Alterations in Intestinal Permeability: The Role of the "Leaky Gut" in Health and Disease. Journal of Equine Veterinary Science 52:10-22
  16. Fasano A. (2011). Leaky Gut and Autoimmune Diseases. Clinical Reviews in Allergy & Immunology 42(1):71-78.
  17. Iman Salem, et al. (2018). The Gut Microbiome as a Major Regulator of the Gut-Skin Axis. Frontiers in Microbiology 9(1459). DOI: 10.3389/fmicb.2018.01459
  18. Jessica Sepel. 2019. Why Your Digestion Plays A Role In The Appearance Of Your Skin. [Internet]. accessible from: https://jessicasepel.com/the-link-between-skin-digestion/
  19. Doug Cook. 2022. How Does Your Gut Health Affect Your Skin?. [Internet]. accessible from: https://cdhf.ca/health-lifestyle/how-does-your-gut-health-affect-your-skin/
Tags:
เมื่อ Fish oil เสริมทัพกับ L-Theanine ให้สุขภาพสมองดีเริ่มต้นจากการนอนที่มีประสิทธิภาพ
รู้หรือไม่! ระบบขับถ่ายไม่ดี เป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว ผิวมัน ใบหน้าขาดความสมดุล