img

เสกสิวให้เป็นแค่เรื่องสิว ๆ เพียงเสริมความแข็งแรงและสร้างสมดุลลำไส้ด้วย Prebiotic

img
  • Admin
  • 05/Jan/2023 07:00 pm
  • Skin
  • 0 View

การเกิดสิวนั้นจัดเป็นหนึ่งในอุปสรรคของการใช้ชีวิตสำหรับใครหลายคน ที่จำเป็นจะต้องเร่งกำจัดทิ้งไป แต่ในบางครั้งเหมือนยิ่งกำจัดมากเท่าไหร่ สิวก็ยิ่งเกิดใหม่มาแทนที่มากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากการกำจัดสิวโดยทั่วไปนั้นเรามักจะจัดการที่ “ปลายเหตุ” คือที่ตัวสิวเจ้าปัญหา แต่ที่ “ต้นเหตุ” ของการเกิดสิวนั้นยังคงอยู่และยังคงทยอยผลิตปัญหาผิวหน้า หรือการเป็นสิวของเราออกมาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จึงทำให้คนที่เป็นสิวนั้นมักจะเกิดสิวซ้ำ ๆ ไม่หายไปถาวร เพราะมีวิธีการกำจัดสิวที่ผิดวิธี

การที่จะทำให้สิวนั้นหายไปได้อย่างสงบ เราจำเป็นจะต้องค้นหาต้นตอของสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ ผ่านการย้อนดูวงจรการเกิดสิว เนื่องจากการเกิดสิวนั้นมีได้หลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น

  • การที่ร่างกายของเราไม่สามารถผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไปได้ตามธรรมชาติ
  • การอุดตันที่รูขุมขน
  • การที่ใบหน้าของเราผลิตความมันส่วนเกินออกมามากเกินไป
  • การเกิดการอักเสบของใบหน้า
  • การรวมตัวกันของเชื้อจุลินทรีย์ร้ายอย่าง Propionibacterium acnes (P. acnes) หรือ Cutibacterium acnes (C. acnes) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว

โดยสาเหตุทั้งหมดนี้มีต้นตอมาจาก “การที่ลำไส้และระบบย่อยอาหารนั้นมีปัญหา” เนื่องจากผิวหน้าและลำไส้นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญผ่านระบบย่อยอาหารและการกิน โดยมีผลการวิจัยพบว่า “เมื่อลำไส้มีปัญหาจะส่งผลให้ผิวหน้ามีปัญหาตามมาเป็นอันดับแรก” รวมไปถึง “การอักเสบที่ลำไส้นั้นจะส่งผลให้ผิวหน้าเกิดการอักเสบตามมาเช่นกัน” ตามการอ้างอิงจากการทดลองในผู้มีปัญหาลำไส้ที่มักจะมีปัญหาผิวหน้าตามมาด้วยเสมอ เรียกได้ว่าผิวเป็นมาตราวัดความผิดปกติภายในร่างกายที่ดีที่สุด เป็นผลให้การเป็นสิวนั้นกำลังบอกเราอยู่ว่า “ลำไส้ของเรากำลังตกอยู่ในสภาวะที่แปรปรวน” หรือ “Microbiome ขาดสมดุล”

Microbiome คือสิ่งแวดล้อมขนาดเล็กในร่างกายของเราที่จะประกอบไปด้วยจุลชีพตัวจิ๋วมากมายไม่ว่าจะจุลินทรีย์ดีอย่าง Probiotics และจุลินทรีย์ร้าย ซึ่งในสภาวะสมดุลนั้น Microbiome จะต้องมีปริมาณของจุลินทรีย์ดีที่มากกว่าจุลินทรีย์ร้ายเพื่อที่จะได้จำกัดการก่อตัวของเหล่าจุลินทรีย์ร้ายไม่ให้มีมากเกินไปจนสร้างการอักเสบและก่อให้เกิดสิว ปัญหาผิวต่าง ๆ ในเวลาถัดมา รวมถึงยังมีบทบาทต่อการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางกายภาพของเราไม่ว่าจะ

  • ด้านการดูดซึมสารอาหารที่ลำไส้
  • ด้านการสร้างพลังงานให้กับผิวหน้า
  • ด้านการเสริมสร้างป้อมปราการผิวหน้าให้ชุ่มชื้น แข็งแรง
  • ด้านการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันและการอักเสบ

เป็นผลให้ Microbiome ที่ขาดสมดุลไปนั้นจะส่งผลให้ลำไส้ของเราไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่างพวก Collagen หรือ Zinc เพื่อนำไปใช้บำรุงผิวได้อย่างเต็มที่ รวมถึงทำให้ใบหน้าของเราดูอิดโรย ไม่แจ่มใส ไร้พลังงาน ขาดความแข็งแรง มีความมันที่ผิวมากเกินไป เกิดการอักเสบ เป็นสิว ยกตัวอย่างได้จากงานวิจัยหนึ่งที่กล่าวถึงกลุ่มคนที่มีปัญหาด้านการดื่มนมหรือภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส ที่นอกจากร่างกายจะย่อยน้ำตาลแล็กโทสไม่ได้แล้ว ยังส่งผลให้ Microbiome เสียสมดุลตามมาด้วย ดังนั้นเราจะสามารถสังเกตเห็นคนกลุ่มนี้ได้ว่าจะมีอาการสิวขึ้นหลังจากดื่มนมหรือกินผลิตภัณฑ์จากวัวเข้าไป โดยผลงานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่า “ผิวหน้ากับลำไส้นั้นมีความเชื่อมโยงกัน“ เป็นผลให้เราจะต้องดูแลที่ลำไส้ก่อนเป็นอันดับแรก

การที่ลำไส้จะแข็งแรงได้นั้น เราจะต้องสร้างให้ Microbiome อยู่ในสภาวะสมดุลคือมี Probiotics ที่แข็งแรง เพื่อที่ Probiotics เหล่านั้นจะได้สามารถควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน หรือสามารถจัดการการก่อโรค โดยการไปลดกลุ่มจุลินทรีย์ร้ายให้มีปริมาณที่ลดลง หรือสนับสนุนการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาผิว หรือสิว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากงานวิจัยยกตัวอย่าง Probiotics ชนิด Lactobacillus spp. ซึ่งสามารถพบได้เป็นปกติในลำไส้ของเราและทำหน้าที่ในการควบคุมการลดการอักเสบของผิว ผ่านการยับยั้งการหลั่งสารเคมีกลุ่มก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์ภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้อย่างเป็นปกติ เป็นผลให้ผิวของเราไร้การอักเสบซึ่งจะแสดงออกผ่านผิวหน้าที่สุขภาพดี ใส โกลว์ ไร้สิวนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นการใช้ “ธรรมชาติต่อสู้กับธรรมชาติ” เอาสิ่งที่มีอยู่ในร่างกายมาบำรุงผิวหน้าซึ่งจะให้ความยั่งยืนที่มากกว่าการใช้สารเคมี

ซึ่ง Probiotics นับเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต่างจากเราที่ ถ้าหากเราต้องการความแข็งแรง หรือมีพลังงานไปใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เราก็ต้องกินอาหารที่ดีและเหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ ดังนั้น Probiotics ก็ต้องกินอาหารที่เหมาะสมกับตัวเองเช่นกัน โดยเราจะเรียกอาหารของ Probiotics ว่า “Prebiotics” ซึ่งได้จากอาหารที่เรากินแต่ไม่สามารถย่อยได้ เช่น “Fructooligosaccharides” ที่เมื่อร่างกายเรากินเข้าไปแล้วจะไปสนับสนุนการเจริญเติบโตของ Probiotics เป็นผลให้ผิวของเรากลับสู่สมดุลได้อย่างธรรมชาติ ทำให้เหล่าจุลินทรีย์ร้ายอย่าง P. acnes/C. acnes ที่ผิวหน้าของเรามีปริมาณลดลงและไม่สามารถก่อตัวอุดตันรูขุมขนจนเกิดเป็นสิวได้ รวมไปถึงยังช่วยสร้างกรดไขมันดีสายสั้น ๆ มาเพื่อปรับสมดุลให้กับน้ำมันที่ผิวหน้าของเรา ทำให้ใบหน้าของเรามีอัตราส่วนระหว่างน้ำกับน้ำมันที่พอดีกัน ก่อให้ผิวหน้านั้นแข็งแรงและชุ่มชื้น


ดังนั้นการกิน Prebiotics จึงสามารถลดการอักเสบของสิวได้ โดยที่การทำงานของ Prebiotics นั้นเป็นกระบวนการที่อ่อนโยนกับใบหน้า ทำให้ผิวหน้าของเรานั้นมีสุขภาพดี แข็งแรง อิ่มน้ำ ไร้ความมันส่วนเกินอย่างธรรมชาติ จากการที่ลำไส้ของเราสามารถรับสารอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น หากลำไส้สามารถดูดซึม Collagen ได้อย่างเต็มที่ ผิวของเราก็จะเนียนใส ชุ่มชื้น ช่วยลดโอกาสการเกิดแผลจากสิว หรือหากลำไส้สามารถดูดซึม Zinc ได้อย่างเต็มที่ ผิวของเราก็จะไร้ความมัน ไร้สิว ไร้การอักเสบ

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Appleton J. (2018). The Gut-brain Axis: Influence of Microbiota on Mood and Mental Health. Integrative Medicine International 17(4):28-32.
  2. Salem I, et al. (2018). The Gut Microbiome as a Major Regulator of the Gut-skin Axis. Frontiers in Microbiology 9:1459. DOI:10.3389/fmicb.2018.01459
  3. Samantha R. Ellis, et al. (2019). The Skin and Gut Microbiome and Its Role in Common Dermatologic Conditions. Microorganisms 7(11):550. DOI: 10.3390/microorganisms7110550
  4. Grice EA, et al. (2011). The skin microbiome. Nature Reviews Microbiology 9:244–253. DOI: 10.1038/nrmicro2537
  5. F. H. Al-Ghazzewi, et al. (2010). Effect of konjac glucomannan hydrolysates and probiotics on the growth of the skin bacterium Propionibacterium acnes in vitro. International Journal of Cosmetic Science 32:139-142. DOI: 10.1111/j.1468-2494.2009.00555.x
  6. Mary-Margaret Kober, et al. (2015). The effect of probiotics on immune regulation, acne, and photoaging. International Journal of Women's Dermatology 1(2): 85–89. DOI: 10.1016/j.ijwd.2015.02.001
  7. Britta De Pessemier, et al. (2021). Gut–Skin Axis: Current Knowledge of the Interrelationship between Microbial Dysbiosis and Skin Conditions. Microorganisms 9(2): 353. DOI: 10.3390/microorganisms9020353
  8. Al-Ghazzewi FH, et al. (2014). Impact of prebiotics and probiotics on skin health. Beneficial Microbes 5(2):99-107. DOI:10.3920/BM2013.0040
  9. Amy lawrenson. 2022. The Gut-Skin Connection: How to Glow From Inside Out. [Internet]. accessible from: https://www.byrdie.com/gut-skin-axis-4799925
  10. Laura Cowell. 2022. The Gut-Skin Connection: How Your Food Affects Your Skin. [Internet]. accessible from: https://www.skintrustclub.com/blog/the-gut-skin-connection-how-your-food-affects-your-skin/
Tags:
Prebiotics ช่วยให้ผิวดี มีออร่า ได้อย่างไร ?
สวยใสอ่อนวัยจากภายในสู่ภายนอก ด้วยนวัตกรรม การรวมตัวของ Collagen Prebiotic และ Glutathione