- Admin
- 04/Jan/2023 07:00 pm
- Skin
- 0 View
รู้หรือไม่! ระบบขับถ่ายไม่ดี เป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว ผิวมัน ใบหน้าขาดความสมดุล
“สิว” และ “ผิวมัน” ล้วนเป็นปัญหาใหญ่ที่เรามักจะต้องเผชิญหน้าพร้อม ๆ กันอยู่เสมอ ซึ่งสร้างความรำคาญใจ และลดทอนความมั่นใจให้กับใครหลายคน เป็นผลให้หลาย ๆ คนพยายามจัดการปัญหานี้ให้หมดไป ที่บางคนก็ได้ผลแค่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนบางคนก็ไม่เห็นผลเลย มิหนำซ้ำบางคนปัญหากลับลุกลามบานปลายไปเสียยิ่งกว่าตอนแรก เห็นได้ชัดว่าเป็นยากที่การเกิดสิว หรือการมีผิวที่ผลิตน้ำมันมากเกินไปนั้น จะหายขาดได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากการแก้ปัญหาสิว ผิวมันในปัจจุบันคงไม่พ้นการกำจัดสิวออกไป หรือการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมความมันที่ผิว ซึ่งพวกนั้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เมื่อต้นเหตุยังอยู่ อาการเหล่านั้นก็ยังคงกลับมาได้อยู่เสมอ ดังนั้นตัวเราควรจะเรียนรู้ที่ต้นเหตุของการเกิดสิว ผิวมัน และทำการแก้ไขที่จุดนั้นเพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม
โดยต้นเหตุของการเกิดสิว ผิวมันนั้นมีได้หลากหลายสาเหตุ ซึ่งเราควรเริ่มจัดการที่ต้นตอของผิวมันก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการมีผิวที่มันเกินไปนั้นก็เป็น 1 ในปัจจัยของการเกิดสิวด้วยเช่นกัน ซึ่งการมีผิวที่มันมากเกินไป เกิดจากการที่ต่อมไขมันใต้ผิวหนังนั้นมีการทำงานมากเกินปกติ ซึ่งมีปัจจัยมาจาก
และเมื่อปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวกระตุ้นให้ผิวของเราเกิดความมันที่มากเกินไปแล้วนั้น สิ่งที่ตามมาก็คือ “การเกิดสิว” แต่การมีผิวมันนั้นเป็นเพียงแค่ 1 ในสาเหตุของการเกิดสิวเท่านั้น เนื่องจากสาเหตุของการเกิดสิวนั้นก็มีมากมายไม่แพ้สาเหตุของผิวมัน ไม่ว่าจะเป็น
- กรรมพันธุ์
- สภาพอากาศ
- รูขุมขนที่กว้าง
- ผิวขาดความชุ่มชื่น
- ฮอร์โมน
และเมื่อปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวกระตุ้นให้ผิวของเราเกิดความมันที่มากเกินไปแล้วนั้น สิ่งที่ตามมาก็คือ “การเกิดสิว” แต่การมีผิวมันนั้นเป็นเพียงแค่ 1 ในสาเหตุของการเกิดสิวเท่านั้น เนื่องจากสาเหตุของการเกิดสิวนั้นก็มีมากมายไม่แพ้สาเหตุของผิวมัน ไม่ว่าจะเป็น
- ภาวะการผลิตน้ำมันในผิวที่มากเกินไป (Seborrhea) ซึ่งมาจากปัจจัยข้างต้น
- การมีชั้นผิวก่อตัวหนาผิดปกติ (Hyperkeratosis) หรือการที่ร่างกายของเราไม่สามารถผลัดเซลล์ผิวได้ตามธรรมชาติ เป็นผลให้ชั้นผิวหนังของเรามีความหนาเกินปกติและเกิดการอุดตัน
- ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) หรือภาวะที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการหลุดรั่วของสารพิษ หรือจุลินทรีย์ตัวร้ายออกไปสร้างการอักเสบที่ผิว ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของสิว
- เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการไม่สมดุลกันของฮอร์โมน อย่างการมีปริมาณของฮอร์โมนแอนโดรเจนที่มากเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นต่อมไขมันใต้ผิวหนังให้ผลิตน้ำมันออกมามากเกินจำเป็น
- ความเครียด ทำให้เกิดการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น คอร์ติโซล แอนโดรเจน นูโรเปปไทด์ เอนโดรฟีน อินซูลิน และไซโตคินส์ ซึ่งทั้งหมดสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดสิวตามมา
- Microbiome ขาดความสมดุลที่อาจเกิดได้จาก การอักเสบเรื้อรัง ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของค่าความเป็นกรด-เบสที่ผิว อาหารการกิน เป็นผลให้มีจำนวนของจุลินทรีย์ร้ายที่มากกว่าจำนวนของจุลินทรีย์ดี และก่อให้เกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อจนกลายเป็นสิวได้ง่ายมากขึ้น
ซึ่งเราจะสามารถเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ของการเกิดสิวและการมีผิวที่มันเกินไปนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากกลไกของการเกิดสิวนั้นมักจะเริ่มจากฮอร์โมนแอนโดรเจนที่จะเข้ามากระตุ้นการผลิตไขมันที่มากเกินจำเป็นของต่อมไขมันใต้ผิวหนัง และเมื่อใต้ผิวหนังของเรามีปริมาณไขมันที่มากเกินไป เหล่าไขมันพวกนั้นจะดักจับกลุ่มเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้วไว้ จนแถวนั้นเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าจุลินทรีย์ร้าย ซึ่งเป็นไปได้ทั้งจุลินทรีย์ร้ายที่อาศัยอยู่ใน Microbiome ที่ผิว หรือเป็นจุลินทรีย์ร้ายจาก Microbiome ที่ลำไส้ซึ่งรั่วไหลออกมาจาก Microbiome ที่เสียสมดุลจนระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เป็นผลให้เกิดการอุดตันที่บริเวณนั้น ซึ่งจะตามมาด้วยการอักเสบและเกิดสิวได้ในที่สุด
โดยหากเราสังเกตเห็นจะพบว่า การเกิดสิวนั้นปัญหาหลัก ๆ มาจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อ “จุลินทรีย์ร้าย” ที่มีปริมาณมากเกินกว่าที่จุลินทรีย์ดี หรือ Probiotics จะสามารถควบคุมได้ไหว โดยเป็นผลมาจาก Microbiome ที่ขาดความสมดุลไป เป็นผลให้คือถ้าหากเราดูแลให้ Microbiome กลับสู่สภาพสมดุลได้ การเกิดสิว หรือการมีผิวมัน รวมไปถึงปัญหาผิวต่าง ๆ อย่างริ้วรอย ความหม่นหมอง ความไม่เรียบเนียน จุดด่างดำต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นจนกลายเป็นผิวหน้าที่มีสุขภาพดีในทุกมิติ เพราะเราสามารถจัดการต้นตอของปัญหาได้อย่างหมดจด
แต่ในส่วนของการดูแล Microbiome ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เนื่องจากเราจะต้องเสริมความแข็งแรงให้กับเหล่าจุลินทรีย์ดี หรือ Probiotics ให้พร้อมต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ในร่างกายของเราผ่านการรับประทานอาหารดี ๆ ที่อุดมไปด้วย “Prebiotics” ซึ่งก็คืออาหารของ Probiotics ที่คนเราไม่สามารถนำไปใช้งานได้อย่าง Fructooligosaccharides ซึ่งจะเป็นตัวเสริมให้ระบบย่อยอาหารหรือการขับถ่ายของเรานั้นสามารถทำงานได้เป็นปกติ นำมาสู่ Microbiome ที่สมดุล เนื่องจาก Microbiome ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนั้นอยู่ในส่วนของลำไส้ เป็นผลให้การมีลำไส้หรือระบบย่อยอาหารที่ไม่ดีนั้นส่งผลให้เกิดสิว ผิวมันตามมาได้ นอกจากนี้แล้วลำไส้ยังเป็นบริเวณที่สำคัญต่อการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ การควบคุมการผลิตไขมัน และการกำจัดสารพิษในร่างกาย เป็นผลให้การทำงานไม่สมบูรณ์นั้นจะก่อให้เกิดการผลิตไขมันมากเกินไป และเกิดภาวะ “Re-absorb” หรือการดูดสารพิษกลับคืนสู่ร่างกาย โดยสารพิษเหล่านั้นก็จะกระตุ้นให้เกิดสิวต่อไปในอนาคต
นอกจากการบำรุงลำไส้ และสร้างสมดุลของ Microbiome เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นตอด้านการอักเสบของผิวแล้วนั้น เราก็ควรจะเสริมการบำรุงที่สามารถช่วยตัดต้นตอของปัญหาผิวมันอย่างการรับประทานสังกะสี (Zinc) ซึ่งเป็นสารยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase ซึ่งจะเปลี่ยนฮอร์โมนแอนโดรเจนชนิดเทสโทสเตอโรนไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน ที่กระตุ้นให้เกิดผิวมัน รวมถึง Zinc ยังมีคุณสมบัติลดการอักเสบ และสามารถฆ่าจุลินทรีย์ร้ายที่ก่อให้เกิดสิวได้อีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าหากเสริม Microbiome ด้วยการรับประทาน Prebiotics ร่วมกับ Zinc แล้วละก็ผิวหน้าจะห่างไกลความมันและสิวแน่นอน
แต่ผิวที่สุขภาพดีนั้นไม่ใช่เพียงแค่ผิวที่ไร้มัน ไร้สิว แต่ต้องเป็นผิวที่ดูอ่อนเยาว์ ไร้ริ้วรอย มีความชุ่มชื้น อิ่มน้ำ โกลว์ใส เนียนนุ่ม น่าสัมผัส เป็นผลให้นอกจาก Prebiotics กับ Zinc แล้ว ก็ควรรับประทาน “Collagen” เสริมเข้าไปอีกแรงหนึ่ง เพื่อให้ทั้งผิวกับลำไส้ดีและแข็งแรงได้แบบครบวงจร
ข้อมูลอ้างอิง
- Anamaria Jović, et al. (2017). The Impact of Pyschological Stress on Acne. Acta Dermatovenerologica Croatica 25(2):1133-141.
- Shinjita Das, et al. (2014). Recent advances in acne pathogenesis: implications for therapy. American Journal of Clinical Dermatology 15(6):479-88. DOI: 10.1007/s40257-014-0099-z.
- Claire Beylot. (2002). Mechanisms and causes of acne. Rev Prat 15;52(8):828-30.
- Uta Jappe. (2003). Pathological Mechanisms of Acne with Special Emphasis on Propionibacterium acnes and Related Therapy. Acta Dermato-Venereologica 83:241–248.
- Paetzold B, et al. (2019). Skin microbiome modulation induced by probiotic solutions. Microbiome 7(95):1-9. DOI:10.1186/s40168-019-0709-3
- Grice EA, et al. (2011). The skin microbiome. Nature Reviews Microbiology 9:244–253. DOI: 10.1038/nrmicro2537
- Porubsky CF, et al. (2017). The role of probiotics in acne and rosacea. DOI:10.5772/intechopen.79044
- Kyung-Ah Kim, et al. (2015). A prebiotic fiber increases the formation and subsequent absorption of compound K following oral administration of ginseng in rats. Journal of Ginseng Research 39(2):183-187. DOI:10.1016/j.jgr.2014.11.002
- Mary-Margaret Kober, et al. (2015). The effect of probiotics on immune regulation, acne, and photoaging. International Journal of Women's Dermatology 1(2): 85-89. DOI: 10.1016/j.ijwd.2015.02.001
- Stewart A, et al. (2017). Alterations in Intestinal Permeability: The Role of the "Leaky Gut" in Health and Disease. Journal of Equine Veterinary Science 52:10-22
- Iman Salem, et al. (2018). The Gut Microbiome as a Major Regulator of the Gut-Skin Axis. Frontiers in Microbiology 9(1459). DOI: 10.3389/fmicb.2018.01459
- Micha Isson, et al. (1997). Effects of oral zinc and vitamin A in acne. Archives of Dermatological Research 113(1);31-6.
- L Hillström, et al. (1997). Comparison of oral treatment with zinc suffate and placebo in acne vulgaris. British Journal of Dermatology 97:679-84
- D Stamatiadis, et al. (1988). Inhibition of 5 alpha-reductase activity in human skin by zinc and azelaic acid. British Journal of Dermatology 119(5):627-32. DOI: 10.1111/j.1365-2133.1988.tb03474.x.
- Alan Leake, et al. (1984). The effect of zinc on the 5α-reduction of testosterone by the hyperplastic human prostate gland. Journal of Steroid Biochemistry 20(2): 651-655. DOI: 10.1016/0022-4731(84)90138-9.
- Natalie Olsen. 2017. Fructooligosaccharides. [Internet]. accessible from: https://www.healthline.com/health/fructooligosaccharide