img

เจาะลึกการเดินทางของแคลเซียม ดูดซึมที่ไหน? ยังไง? ไขปัญหากินแคลเซียมทุกวันแต่ทำไมกระดูกยังพรุนเหมือนเดิม!

img
  • Admin
  • 27/Oct/2021 07:00 pm
  • Bones & JOINT
  • 0 View
เจาะลึกการเดินทางของแคลเซียม ดูดซึมที่ไหน? ยังไง? ไขปัญหากินแคลเซียมทุกวันแต่ทำไมกระดูกยังพรุนเหมือนเดิม!


             แคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อร่างกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน รวมไปถึงมีความจำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และสมองอีกด้วย ดังนั้นการขาดแคลเซียมไปนั้นคงไม่ดีเท่าไหร่ ทำให้หลาย ๆ คนหันมากินอาหารเสริมกลุ่มแคลเซียมกันมากขึ้น

ซึ่งหลาย ๆ คนคงประสบปัญหากับการกินแคลเซียมที่รู้สึกว่ากินเท่าไหร่ก็ยังไม่ได้ผล คนที่มีอาการกระดูกพรุนก็ยังพรุนเหมือนเดิม คนที่ฟันโยกก็ยังโยกเหมือนเดิม แล้วทีนี้ต้องทำยังไง?

ก่อนอื่นเลยคือคุณจะต้องเข้าใจการเดินทางของแคลเซียมก่อนว่าหลังจากที่คุณกินเข้าไปนั้นแคลเซียมไปอยู่ตรงไหนของร่างกายคุณบ้าง

แคลเซียมนั้นเริ่มการเดินทางที่ปากของคุณและถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก แต่ปริมาณแคลเซียมที่ถูกดูดซึมและได้ไปต่อในลำไส้เล็กของคุณจะมีแค่บางส่วนเท่านั้น โดยแคลเซียมที่เหลือก็จะขับออกผ่านเส้นทางอุจจาระและปัสสาวะ



แต่การเดินทางของแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายนั้นก็ไม่ได้ง่ายดาย เพราะพฤติกรรมบางอย่างของคุณอาจไปขัดขวางการเดินทางของแคลเซียมอย่างไม่รู้ตัว! เช่น

  • การกินไขมันในปริมาณมากในมื้ออาหาร จะส่งผลให้แคลเซียมเดินทางไปรวมตัวกับไขมันส่วนเกินและอยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ยาก
  • การที่ในทางเดินอาหารมีสารกลุ่มที่สามารถไปรวมตัวจับกับแคลเซียมกลายเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ อย่างเช่น สารจำพวกไฟเตต (phytate) ที่พบมากในธัญพืชหรือ สารจำพวกออกซาเลต (0xalate)
  • การขาดวิตามินดี หรือ ไม่ได้รับแสงแดดยามเช้า โดยวิตามินดีเป็นตัวช่วยสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย

นอกจากนี้แล้วแคลเซียมที่อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ ก็มีความสามารถในการเดินทางเข้ามาในร่างกายเราแตกต่างกันไปอีกด้วย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ในรูปแบบแคลเซียมจับกับเกลือนั้นแต่ละชนิดจะให้ปริมาณแคลเซียมเข้าร่างกายได้ไม่เท่ากันโดยปริมาณแคลเซียมที่ได้จากเกลือแคลเซียม 100 มิลลิกรัม จะเรียกว่า elemental calcium เช่น
  • แคลเซียมคาร์บอเนต นิยมใช้กันมากในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เนื่องจากราคาถูก แต่ร่างกายดูดซึมได้ไม่ค่อยดี ทำให้เหลือแคลเซียมตกค้างในร่างกายมาก ก่อให้เกิดอาการท้องผูกได้
  • แคลเซียมซิเตรต ดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีกว่าแคลเซียมคาร์บอเนต แต่ปริมาณแคลเซียม (elemental calcium) ไม่สูงเท่าแคลเซียมคาร์บอเนต อาจต้องกินในปริมาณมากถึง 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • แคลเซียมแล็กเตต เดินทางเข้าร่างกายดีแต่มีปริมาณแคลเซียม(elemental calcium) ต่ำ นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียลงได้ จึงไม่นิยมใช้ในการทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
  • แคลเซียมกลูโคเนต มีปริมาณแคลเซียม (elemental calcium) ค่อนข้างต่ำ ไม่นิยมใช้ในการทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
  • แคลเซียมอะมิโน แอซิต คีเลต ละลายน้ำได้ดี เดินทางเข้าร่างกายได้เก่ง ไม่ตกค้างในร่างกาย
  • แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต สกัดได้จากข้าวโพด เดินทางเข้าร่างกายได้เก่งมาก ดูดซึมได้ดีมาก แต่มีปริมาณแคลเซียม (elemental calcium) ไม่สูงนัก และมี L-threonic acid ซึ่งเป็นสารอนุพันธ์รูปแบบหนึ่งของวิตามินซี ทำหน้าที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์คอลลาเจน
  • แคลเซียมจากปะการัง ได้มาจากธรรมชาติ ประกอบด้วยแร่ธาตุมากมายไม่ว่าจะเป็น แมกนีเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
  • แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite) เป็นแคลเซียมที่ได้จากผงกระดูกปลาทูน่า มีโครงสร้างแบบไฮดรอกซีอะพาไทด์(Hydroxyapatite) มีสูตรทางเคมีคือ Ca5(PO4)3OH หรือ Ca10(PO4)6(OH) เป็นโครงสร้างหลักที่พบทั่วไปในกระดูกตามธรรมชาติ รวมถึงกระดูกมนุษย์ แร่ธาตุแคลเซียมที่มาจากกระดูกปลาทูน่าธรรมชาติมีความปลอดภัยสูงต่อการบริโภค


และในบางกรณีที่แคลเซียมยังไม่สามารถเดินทางผ่านลำไส้เล็กเข้ามาได้อย่างดีอีก คุคุณเองก็จำเป็นต้องสร้างพฤติกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้แคลเซียมด้วย เช่น

  • การเสริมสร้างวิตามินดีที่จะช่วยพาแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายเราได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกไปรับแสงแดดยามเช้าหรือการกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี จำพวกปลา ไข่แดง ตับ เนย
  • การดื่มนมที่อุดมไปด้วยน้ำตาลแลคโทส เนื่องจากแบคทีเรียในร่างกายเราจะไปเปลี่ยนให้น้ำตาลแลคโทสเป็นกรดซึ่งเป็นสภาวะที่แคลเซียมละลายได้ดี ช่วยให้ดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น

สุดท้ายแล้วการกินแคลเซียมให้ได้ผลที่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือจากพฤติกรรมของเราเอง ดังนั้นคุณก็ต้องเลือกกินให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

ข้อมูลแหล่งอ้างอิง




Tags:
อันตราย ! หากปวดเข่ามาหลายเดือนติดกัน แล้วไม่รักษา เสี่ยงข้อเข่าเสื่อมระยะยาว
Checklist 10 อาการอัลไซเมอร์! โรคร้ายที่จะเปลี่ยนคนรักให้เป็นคนลืม