img

Checklist 10 อาการอัลไซเมอร์! โรคร้ายที่จะเปลี่ยนคนรักให้เป็นคนลืม

img
  • Admin
  • 19/Apr/2024 10:53 am
  • Bones & JOINT
  • 0 View

Checklist 10 อาการอัลไซเมอร์! โรคร้ายที่จะเปลี่ยนคนรักให้เป็นคนลืม


โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยสาเหตุหลักๆเกิดจากการสะสมของโปรตีนเบตา-อะไมลอยด์ภายในสมอง ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ประสาทในสมอง โดยทำให้เกิดการอักเสบและฝ่อเสื่อมของเซลล์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆแย่ลง ซึ่งมักเริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความจำ อารมณ์และการเรียนรู้ ทำให้ผู้ป่วยมักเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับความจำระยะสั้นในช่วงแรกๆ แต่เมื่อโรคดำเนินต่อไปผู้ป่วยร้อยละ 80-90 อาจมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตเวชร่วมด้วย นอกจากนั้นยังพบว่ามีการลดลงของสารแอซิติลโคลีนในสมองที่เป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความจำอีกด้วย สุดท้ายแล้วเมื่อโรคดำเนินต่อไปผู้ป่วยเกิดจะภาวะสมองเสื่อมและฝ่อลง เริ่มจากมีปัญหากับความทรงจำระยะสั้นจนกระทั่งความเสียหายบานปลายไปถึงด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ ความรู้สึก อารมณ์ พฤติกรรม และภาษา โดยโรคอัลไซเมอร์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้


ระยะแรกผู้ป่วยมีปัญหาด้านความทรงจำแบบที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด มีอาการหลงๆลืมๆอย่างการชอบถามซ้ำ การพูดซ้ำ  เรื่องเดิม ลืมบทสนทนาที่เพิ่งเกิดขึ้น การสับสนทิศทาง มีความเครียดและอารมณ์เสียง่าย แต่ยังสามารถสื่อสารและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ


ระยะปานกลางผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความทรงจำแย่ลงกว่าเดิมมาก จำเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ๆไม่ค่อยได้ และมักจะหลงทาง รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม เช่น นิสัยเปลี่ยนแปลงแบบสลับขั้ว อารมณ์ผันผวนแปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย  ย้ำคิดย้ำทำ และเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลืมวิธีการทำกิจวัตรประจำวันอย่างกินข้าวหรือช่วยเหลือตัวเองด้านอื่นๆ คิดคำพูดไม่ออก บางรายอาจมีอาการทางจิตเวชอย่างอาการหวาดระแวง เห็นภาพหลอนได้ 


ระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมน้อยลงเพราะมีภาวะสมองเสื่อมเป็นวงกว้างแล้ว มีการเคลื่อนไหวตัวน้อยลงถึงขั้นไม่เคลื่อนไหวเลย ไม่ยอมกินไม่ยอมกลืนอาหาร กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ สุขภาพทรุดโทรมลง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่พูดไม่จา ระบบภูมิคุ้มอ่อนแอลงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้


ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น จากสถิติในปัจจุบันพบว่า กลุ่มผู้ที่มีอายุราว 75 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 15 และกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป พบได้ถึงร้อยละ 40
  • การมีโรคเรื้อรังอย่าง โรคเบาหวาน โรคไต โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน
  • มีพันธุกรรม มีคนในครอบครัวเป็นโรคอัลไซเมอร์ หรือมียีน ApoE4
  • มีประวัติได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านการนอน เช่น เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง นอนหลับยาก นอนไม่เป็นเวลา


แล้วเราเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้วหรือยัง 


   จากความน่ากลัวข้างต้นของการเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้น คงทำให้หลาย  คนอยากจะหลีกเลี่ยง รวมไปถึงมีความกังวลว่าตนเองจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้บ้างไหม งั้นเรามาลองหยิบกระดาษขึ้นมาสัก 1 แผ่นพร้อมปากกา เพื่อเช็กว่าใน 10 อาการเสี่ยงนั้นเราพบไปแล้วกี่อาการ

  1. รู้สึกว่าความจำแย่ลง ลืมในสิ่งที่ไม่ควรลืม เช่น การลืมวันสำคัญ การลืมสิ่งที่พึ่งถามไป การลืมความทรงจำระยะสั้นเหล่านี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของอัลไซเมอร์ได้ แต่ถ้าหากเป็นการลืมชั่วคราว พอผ่านไปก็กลับมานึกขึ้นได้นั้นเป็นเพียงอาการหลงลืมทั่วไป 
  2. ใช้เวลาไปกับกิจวัตรประจำวันที่นานขึ้น เช่น การกินข้าวที่นานขึ้น การใส่เสื้อผ้าที่นานขึ้น อาจเกิดจากการที่ทำช้าลง ทำผิดวิธี หรือจำวิธีการทำไม่ได้ทั้งที่เมื่อก่อนสามารถทำได้อย่างปกติ
  3. ลืมเส้นทาง หรือหลงทางในเส้นทางที่ใช้งานเป็นประจำ เช่น ทางกลับบ้าน
  4. สับสนเรื่องของวัน เวลา รวมไปถึงฤดูกาล ที่ไม่สามารถนึกออกได้ในภายหลังถึงแม้ว่าจะพยายามทบทวนแล้ว
  5. ไม่สามารถเชื่อมโยงภาพที่เห็นกับความเป็นจริงได้ เช่น การส่องกระจกแล้วไม่รับรู้ว่านั้นคือกระจกและไม่รับรู้ว่าภาพในกระจกคือภาพของตนเอง
  6. มีปัญหาด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นด้านการพูด การเขียน หรือการเลือกใช้คำ เนื่องจากการนึกคำไม่ออก หรือไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เรียบเรียงคำพูดไม่เป็นประโยค เรียกสิ่งของผิด เช่น เรียกปากกาว่ากล้อง
  7. วางของผิดที่ผิดทาง แต่ไม่รู้ตัวว่าวางผิด เช่น การวางกุญแจรถไว้ในไมโครเวฟแล้วก็นึกไม่ออกว่าวางไว้ที่ตรงไหน
  8. มีความสามารถในการตัดสินใจลดลง เช่น การมีธุระด่วนและต้องรีบออกไปข้างนอก แต่ไม่ยอมอาบน้ำแต่งตัว และคิดว่าตัวเองตัดสินใจถูกแล้วที่ทำแบบนั้น เป็นการตัดสินใจไม่ตรงกับสิ่งที่ควรจะเป็น
  9. เก็บตัวและไม่ชอบเข้าสังคม เลิกทำกิจกรรมที่เคยชอบทำแบบไม่มีสาเหตุ ไม่ตื่นเต้นต่อสิ่งเร้าต่าง 
  10. หงุดหงิดง่ายขึ้นเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย สับสน หวาดระแวง วิตกกังวล หวาดกลัว ปรับตัวไม่ได้


หนทางป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์


    อัลไซเมอร์นั้นเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่าย  โดยการปรับใช้วิถีชีวิตแบบใส่ใจสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน การรับประทานอาหารแบบแคลอรีต่ำ การรับประทานอาหารแบบจำกัดแป้งโดยเฉพาะแป้งขัดขาว ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ฝึกฝนการใช้สมองอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการใช้ตัวช่วยเสริมอย่างการกินน้ำมันปลาจากหัวทูน่าทะเลน้ำลึกที่มี DHA ในปริมาณมาก ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ส่งเสริมการสื่อสารและความจำ รวมไปถึงช่วยพัฒนากระบวนการด้านความคิดอีกด้วย


แหล่งข้อมูลอ้างอิง 


Tags:
เจาะลึกการเดินทางของแคลเซียม ดูดซึมที่ไหน? ยังไง? ไขปัญหากินแคลเซียมทุกวันแต่ทำไมกระดูกยังพรุนเหมือนเดิม!
สมองปลอดห่วงอัลไซเมอร์ เพียงได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเป็นประจำ