- Zeavita
- 12/Nov/2024 03:17 am
- Bones & JOINT
- 12 View
โรคกระดูกพรุน ถือได้ว่าเป็น “ฆาตรกรเงียบ”
โรคกระดูกพรุน ถือได้ว่าเป็น “ฆาตรกรเงียบ”
1 ใน 4 ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุนขั้นรุนแรงอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย และเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีอายุมากคนไทย 25% เป็นโรคกระดูกพรุน โดยส่วนมากมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงเสี่ยงต่อการกระดูกหักหากรุนแรงก็อาจทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ทั่วไปแล้วมวลกระดูกมีการสลายและสร้างใหม่ขึ้นมาทุกวัน แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นหรือมีพฤติกรรมที่รบกวนการสร้างแคลเซียมทดแทน เพื่อการสลายตัวของแคลเซียมลงลด จะทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมและกระดูกพรุนได้ ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเพศไหน วัยไหน ก็ควรเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนได้
โรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกและฟัน เริ่มเสื่อมและบางลงเนื่องจากการสูญเสียแคลเซียม ทำให้กระดูกแตกง่ายกว่าปกติ พบบ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ ถ้าไม่รักษาอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ โดยปกติแล้วมีการสร้างและสลายกระดูกตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดความสมดุล จนกระทั่งร่างกายเสียสมดุลการสร้างแคลเซียมน้อยลง ทำให้กระบวนการสลายมากกว่าการสร้าง ทำให้มวลกระดูกลดลงไปเรื่อย ๆ หากไม่เพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูก จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ ฉะนั้นเราต้องการตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพดูดซึมได้มากเข้าไปเสริมมวลกระดูกได้เร็ว แคลเซียมจากกระดูกปลาทูน่าธรรมชาติมีโครงสร้างแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทด์ธรรมชาติเหมือนกับกระดูกมนุษย์ ร่างกายดูดซึมได้ดีเมื่อเทียบกับแคลเซียมทั่วไป ดังนั้นมาเช็กปัจจัยที่เสี่ยงโรคกระดูกพรุนเพื่อไม่ให้ภัยใกล้ตัวนี้เกิดขึ้นกับตัวเรา
ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
- อายุ กระบวนการสร้างแคลเซียมจะเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ สวนทางกับอายุที่มากขึ้น เราไม่สามารถหยุดอายุที่มากขึ้นได้ แต่เราสามารถเสริมแคลเซียมที่ดีป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
- เพศ ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้าง จะทำให้การสลายกระดูกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ
- การใช้ยาบางประเภทเป็นประจำ การได้รับยาบางชนิดเป็นประจำ เป็นระยะเวลานาน ทำให้มวลกระดูกลดลง เช่น กลุ่มยาสเตียลอยด์ ในผู้ป่วยข้ออักเสบ
- เคยกระดูกหัก เพิ่มปัจจัยเสี่ยงกระดูกหักซ้ำ 2.5 เท่า
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หากดื่มมากกว่า 3 แก้วต่อวัน จะเพิ่มโอกาสโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น
- สูบบุหรี่ สารนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูกทำให้ร่างกายเสียสมดุล
- โรคกระดูกพรุน ถือได้ว่าเป็น “ฆาตรกรเงียบ” เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อกระดูกหักเสียแล้ว ส่วนอาการที่พบได้คือปวดหลัง ซึ่งเกิดจากกระดูกบางมานาน อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อสันหลังยุบตัว และทำให้เกิดหลังค่อม นอกจากสันหลังที่เป็นหนักแล้ว กระดูกที่ถูกทำลายมากเป็นลำดับต่อมาคือ ข้อมือและสะโพกนั่นเอง
ข้อมูลแหล่งอ้างอิง
- Bumrungrad International Hospital, โรคกระดูกพรุน. 2021 Aug. From https://www.bumrungrad.com/th/conditions/osteoporosis
- Bangkok International Hospital, กระดูกพรุน รู้ให้ไวป้องกันกระดูกหัก. 2021 Aug From https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/diseases-and-treatments/know-osteoporosis-to-prevent-fractures
- Spine Hospital, กระดูกสันหลังพรุน ภัยเงียบ ที่ไม่รู้ตัว. Spine Hospital. Aug 2021.From https://www.s-spinehospital.com/main/osteoporosis/
Tags: