- Admin
- 22/Dec/2021 07:00 pm
- Bones & JOINT
- 0 View
Zinc, วิตามิน C และ D3 ตัวช่วยบูสท์ภูมิคุ้มกัน เทคนิคห่างไกลโรคร้ายที่หลายคนมองข้าม
Zinc, วิตามิน C และ D3 ตัวช่วยบูสท์ภูมิคุ้มกัน เทคนิคห่างไกลโรคร้ายที่หลายคนมองข้าม
ระบบภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกายมาก มากขนาดที่ว่าถ้าระบบนี้มีปัญหา อาจนำพาให้ระบบการทำงานอื่นๆของร่างกายล่มตามไปด้วย เป็นเหตุให้เจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ในที่สุด ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่คอยดูแลปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราหรือสารพัดสิ่งก่อโรค รวมไปถึงช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมทั้งหลายที่พยายามจะเข้ามาทำร้ายเซลล์ร่างกายของเรา แม้กระทั่งการกำจัดเซลล์มะเร็งก็เป็นหน้าที่หนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้การดูแลรักษาและบำรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการกินอาหารที่ดี อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเนื่องจากมีผลงานวิจัยออกมาหลายฉบับว่าวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดมีผลโดยตรงต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเราเป็นอย่างมาก ทำให้การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุไปนั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ดีโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ไวรัสและแบคทีเรียมีการกลายพันธุ์ รวมไปถึงมนุษย์เองก็มีอาการดื้อยามากขึ้นด้วย
หนึ่งในแร่ธาตุที่เป็นพระเอกของระบบภูมิคุ้มกันอย่าง สังกะสี (Zinc) ก็มักจะเป็นแร่ธาตุที่ถูกลืม ส่งผลให้คนที่ขาดสังกะสีนั้นมีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานบกพร่องและง่ายต่อการติดเชื้อก่อโรค เนื่องจากสังกะสีนั้นเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อเสถียรภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน จากการศึกษาพบว่าสังกะสีมีบทบาทสำคัญต่อการช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราสามารถป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดต่อมากมายในปัจจุบัน รวมไปถึงมีการศึกษาว่าการมีสังกะสีที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยลดอัตราการเพิ่มจำนวนของไวรัสอาร์เอ็นเอ เช่น SARS Hepatitis C Virus (HCV) หรือ influenza ได้ นอกจากนี้สังกะสียังทำหน้าที่เป็น antioxidant ที่ช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อได้
วิตามินยอดฮิตอย่างวิตามินซี นั้นก็ไม่ได้มีบทบาทแค่ด้านความสวยความงาม เพราะวิตามินซีนั้นก็มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างเนื้อเยื่อ แถมยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ดีเป็นอันดับต้น ๆ ทำหน้าที่ต้านการอักเสบของเนื้อเยื่อได้เป็นอย่างดี เสริมประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ในการกำจัดทำลายเชื้อโรคต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรียหรือไวรัส และช่วยทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกันที่แก่เกินทำงานได้ทิ้ง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการเป็นสาร antihistamine ที่ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ รวมไปถึงช่วยลดอาการกลุ่มไข้หวัด ปอดบวม และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจได้อีกด้วย
อีกหนึ่งวิตามินสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันก็คือ วิตามินดี3 หรือ cholecalciferol เป็นวิตามินดีชนิดหนึ่งที่ผิวหนังของเราสังเคราะห์ได้เองเมื่อเจอกับแดดยามเช้า ทำให้พฤติกรรมของคนเราในปัจจุบันที่พยายามจะหลีกเลี่ยงแสงแดดนั้นก่อผลกระทบคือมีปริมาณวิตามินดี3 ลดลงโดยไม่รู้ตัว ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง คือทำให้มีประสิทธิภาพที่ลดลง สุดท้ายแล้วเราก็จะติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้แล้วการขาดวิตามินดี3 อาจจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune disease) ได้มากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าโดยภาพรวมแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุจนมีภาวะ hidden hunger นั้นส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันของเราให้มีประสิทธิภาพที่ต่ำลง ทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นการขาดวิตามินและแร่ธาตุจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่อาจนำพาไปสู่ปัญหาสุขภาพที่หนักหนาได้โดยไม่รู้ตัว จงอย่าลืมดูแลตัวเอง กินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารที่ทำลายสุขภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมไปถึงกินอาหารเสริมที่มีประโยชน์อย่างวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามิน C วิตามิน D3 หรือ Zinc
แหล่งข้อมูลแหล่งอ้างอิง
- Haryanto B., et.al., Multivitamins supplementation supports immune function and ameliorates conditions triggered by reduced air quality. Vitam Miner, 2015, 4:p.1-15.
- Baeke F., et.al., Vitamin D: Modulator of the immune system. Curr Opin Pharmacol, 2010, 10(4):p.482-4
- Kashaf J., et.al., Effective Immune Functions of Micronutrients against SARS-CoV-2. Nutrients. 2020, 12:299
- Sciencedirect, Immune-boosting role of vitamins D, C, E, zinc, selenium and omega-3 fatty acids: Could they help against COVID-19?,Sciencedirect,Nov 2021, From; https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0378512220303467
- J Investig Med, Vitamin D and the Immune System, US National Library of Medicine
- National Institutes of Health, Nov 2021, From; https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3166406/
Tags: